
“วันมาฆบูชา” วันสําคัญทางศาสนาพุทธ ที่พุทธศาสนิกชนพึงระลึกและสืบทอดงานประเพณีมาฆบูชามาเนิ่นนาน แต่อาจมีชนรุ่นหลังที่อาจยังไม่เข้าใจว่าวันมาฆบูชา สําคัญอย่างไร รวมไปถึงชาวต่างชาติที่ได้เข้ามาทำงานหรืออาศัยในประเทศไทยกันมากขึ้น ได้เห็นวัฒนธรรมแต่ไม่เข้าใจลึกซึ้ง ว่าวันมาฆบูชาทําบุญเพื่ออะไร หรือวันมาฆบูชางดขายเหล้าทำไม อย่างนี้เป็นต้น บทความนี้จะกล่าวถึงความสำคัญของวันมาฆบูชาอย่างย่อ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
ก่อนอื่นเรามารู้กันก่อนว่า มาฆบูชา มาจากคำว่า “มาฆบูชาปูรณมี” หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือน 3 ตามวันมาฆบูชาจันทรคติของไทย ซึ่งวันมาฆบูชาตรงกับวันที่ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 โดยส่วนใหญ่จะตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือเดือนมีนาคม แต่ถ้าปีไหนมีอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองหน ก็จะเลื่อนไปทำกิจกรรมมาฆบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 แทน
วันมาฆบูชาภาษาอังกฤษ คือ Makha Bucha Day หรือบ้างก็ว่า Magha Puja Day ซึ่งวันมาฆบูชา เป็นวันที่ระลึกถึงความสำคัญของ 4 เหตุการณ์ มาฆบูชาในสมัยพุทธกาล ได้แก่
- พระสงฆ์สาวกจำนวน 1,250 รูป มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมเพรียงกัน โดยมิได้นัดหมายกันมาก่อน
- ภิกษุทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา 6 แล้วทุกรูป
- ภิกษุทั้งหมดล้วนเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้บวชให้โดยตรง
- เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ คือ เดือน 3 (วันมาฆบูชา ดวงจันทร์เต็มดวง)
โอวาทปาติโมกข์ หลักธรรมสอนที่เป็นหัวใจสำคัญในพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่พระอรหันต์ 1,250 รูป ในวันมาฆบูชา โดยมีใจความเป็นโอวาท 3 ประการ บางคนก็อาจเรียกว่ามาฆบูชา 3 ประการ ได้แก่
1.ละเว้นจากความชั่วทั้งปวง 2.ทำความดีให้ถึงพร้อม 3.ทำใจให้ผ่องใส
ซึ่งใจความก็หมายถึงการรักษาศีล 5 ให้ครบถ้วนบริบูรณ์ เพราะศีล 5 ครอบคลุมในโอวาทในข้อของการละเว้นความชั่วนั่นเอง
ประวัติวันมาฆบูชา(อย่างย่อ)
ทีนี้เรามาดูว่าวันมาฆบูชาประวัติเป็นมาอย่างไรกันหน่อย
หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ผ่านไปได้ 9 เดือน และได้มีพระสงฆ์สาวกที่บวชด้วยพระองค์ ออกจาริกเผยแผ่ธรรมศาสนา จนถึงเพ็ญเดือนมาฆะ ที่มีพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งเป็นวันศิวาราตรี (มาฆบูชา 15 ค่ํา เดือน 3) วันที่ผู้นับถือลัทธิพราหมณ์จะทำพิธีศิวาราตรี คือการชำระบาปหรือ “ลอยบาป” ถวายความเคารพพระศิวะ ด้วยการล้างบาปด้วยน้ำ
และจากเดิมที่พระภิกษุจำนวน 1,250 รูป เคยนับถือลัทธิพราหมณ์ แต่ตอนนี้ได้หันมาบวชอยู่ใต้ร่มกาสาวพัตร์ โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา และเป็นที่เคารพบูชาแทน จึงได้เดินทางมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ณ วัดเวฬุวัน เมืองมคธ เพื่อแสดงความเคารพและกตัญญูต่อพระองค์ โดยมิได้นัดหมายกันมาก่อนแต่อย่างใด ทำให้วันนี้มีความสำคัญ 4 ประการที่เกิดขึ้นพร้อมกัน (ดังหัวข้อข้างบน)
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงถือโอกาสนี้ แสดงโอวาทปาติโมกข์ (บางตำราก็เขียนว่า ปาฏิโมกข์) แก่พระสงฆ์สาวกที่มาเข้าเฝ้า รวมไปถึงเทวดาและสรรพสัตว์บริเวณนั้นก็ได้อานิสงส์ไปด้วย ส่งผลให้เกิดปัญญาธรรม สำเร็จโสดาบันกันไปก็มี
แล้วในวันมาฆบูชาทําอะไรบ้าง? วันมาฆบูชามีเวียนเทียนไหม?

พิธีมาฆบูชานี้ไม่ได้แสดงแน่ชัดว่าเกิดขึ้นใดกันแน่ แต่ถ้าดูตามหนังสือพระราชพิธีเฉลิมฉลอง 12 เดือน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์โดยรัชกาลที่ 5 ได้กล่าวไว้ว่า “ในอดีต ไม่มีพิธีกรรมมาฆบูชา เพิ่งจะมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งให้ประกอบศาสนพิธีมาฆบูชาขึ้นในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อพ.ศ.2394 ได้กำหนดวันมาฆบูชา จัดงานสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
โดยปกติแล้วในวันมาฆบูชา กิจกรรมมงคลจะเริ่มตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จประกอบมาฆบูชาพิธีกรรมที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และจะมีพสกนิกรร่วมเวียนเทียนภายในวัดนี้ และวัดอื่นๆที่ใกล้บ้านประชาชนแต่ละแห่งกันไป ซึ่งการเวียนเทียนสามารถทำได้ทุกช่วงเวลาตามที่ใครสะดวก แต่สำหรับวันมาฆบูชา กรุงเทพฯ ส่วนใหญ่จะนิยมทำการเวียนเทียนในช่วงเย็นหรือช่วงค่ำ
โดยอาจมีการไปทำบุญตักบาตรช่วงเช้า สายๆไปวัดฟังธรรม ใช้เวลาร่วมกันกับครอบครัว บางครอบครัวอาจเลือกทำอาหารมังสวิรัติเพื่องดทานเนื้อสัตว์หนึ่งวัน แล้วเดินทางไปเวียนเทียนร่วมกันในตอนเย็น เพื่อระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้มีเมตตา แสดงความรักและปรารถนาดี แสดงธรรมให้แก่สัตว์โลก เพื่อให้หลุดพ้นจากความทุกข์ ด้วยสัจธรรมที่พระองค์ค้นพบ และเป็นผู้ให้ได้มีพระสงฆ์สาวกในการสืบทอดเจตนารมย์ สืบทอดเผยแผ่ศาสนา แม้ว่าพระพุทธองค์จะปรินิพพานไปแล้วก็ตาม ซึ่งทั้งหมดจะเป็นงานประเพณีมาฆบูชา พุทธศาสนิกชนได้ยึดถือปฏิบัติตาม และสืบทอดเป็นวัฒนธรรมทางศาสนาที่ดีงามมาอย่างต่อเนื่อง
นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีการจัดให้ ดอกพุด มาฆบูชา เป็นสัญลักษณ์ ในงานเทศกาลมาฆบูชา เมื่อปีพ.ศ.2562 เพื่อส่งเสริมพุทธศาสนาและวันมาฆบูชาประเทศไทย
แล้วทำไมต้องรณรงค์ให้วันมาฆบูชางดจําหน่ายสุรา?
ด้วยหลักธรรมโอวาทปาติโมกข์ ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงในวันมาฆบูชา เมื่อสมัยพุทธกาล ซึ่งเป็นหัวใจหลักของศาสนาพุทธ คือ การละเว้นความชั่ว ทำความดี และทำใจให้บริสุทธิ์ ฉะนั้น การงดเว้นดื่มเหล้า ก็เป็นหนึ่งในข้อมาฆบูชาการปฏิบัติตนตามหลักแนวทางคำสอนของพุทธองค์ รัฐบาลจึงกำหนดให้งดจำหน่ายสุราในวันสำคัญทางศาสนา ได้แก่ วันมาฆบูชา วิสาขบูชา อาสาฬหบูชา รวมไปถึงมีการรณรงค์ให้งดดื่มเหล้าอีกด้วย
เรามาดูคำศัทพ์มาฆบูชาภาษาอังกฤษที่น่าสนใจมีคำอะไรบ้าง
Makha Bucha Day : วันมาฆบูชา
Makha Puja Day : วันมาฆบูชา
Full moon of the third lunar month : วันเพ็ญเดือน 3
Summon : การเรียกประชุม
Guideline : แนวทางปฏิบัติ
Disciple : ลูกศิษย์ , ผู้นับถือ , สาวก
Spread : เผยแผ่
To cease from all evil : ละเว้นความชั่ว
To do what is good : ทำความดี
To cleanse one’s mind : ทำใจให้ผ่องใส
Individual : ปัจเจกบุคคล , รายบุคคล
Symbol : สัญลักษณ์
Wisdom : ปัญญา
และถ้าใครต้องการชวนเพื่อนชาวต่างชาติไปวัดทำบุญมาฆบูชา ก็สามารถพูดได้ว่า “Let’s join the Magha Puja Day’s ceremony together.”

แต่เนื่องจากปีนี้มาฆบูชาตรงกับวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งยังอยู่ในสถานการณ์โควิด-19 ระบาด อาจจะต้องทำบุญแบบ social distancing รักษาระยะห่าง เพื่อความปลอดภัย หากต้องการไปวัดเพื่อร่วมทำบุญ หรือเวียนเทียน ก็ต้องเช็คสถานที่ก่อนว่าวัดนั้นงดกิจกรรมหรือไม่ และก็อย่าลืมใส่แมส พกเจลแอลกอฮอล์ หมั่นล้างมือบ่อยๆ หรือจะรักษาศีล สวดมนต์ออนไลน์อยู่ที่บ้าน เพื่อความอุ่นใจและปลอดภัยกับทุกคน และยังได้บุญเช่นกัน … มาฆบูชา สวัสดี