5 ตำแหน่งงานสาย IT ที่ไม่มีสกิลการเขียนโค้ดก็ทำได้

วันนี้เรามีอาชีพสายเทคโนโลยีหรือ IT ที่ไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญการเขียนโค้ดก็สามารถทำได้ จะมีตำแหน่งงานอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

เมื่อพูดถึงเรื่องตำแหน่งงานในปัจจุบัน งานสาย IT มาแรงแซงทางโค้งมาก ๆ เพราะไม่ว่าจะงานด้านไหน ก็ต้องมีไอทีเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ตลาดแรงงานต้องการตำแหน่ง IT เป็นจำนวนมาก จนการศึกษาต้องเพิ่มคลาสและได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่มากขึ้น

เรียกได้ว่า IT ฮอตฮิตทั้งในสายการเรียน และการทำงาน มาเป็นอันดับต้น ๆ แต่ก็มีหลายคนที่อาจไม่ชอบการเขียนโปรแกรมสักเท่าไร วันนี้เราจึงมีอาชีพสายเทคโนโลยีที่ไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญการเขียนโค้ด 5 ตำแหน่งงานอะไรบ้าง ไปดูกันเลย 

5 ตำแหน่งงานสาย IT ที่ไม่มีสกิลการเขียนโค้ดก็ทำได้

1. Prompt Engineer

สายอาชีพ Prompt Engineer เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากตอนนี้มีการนำระบบ AI หรือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ นำมาใช้กันมากขึ้น และมีแนวโน้มว่ามูลค่าอุตสาหกรรม AI จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทำให้ทุกองค์กรต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองด้วย AI และจำเป็นต้องมีผู้ที่เข้าใจในโมเดลของ Generative AI สามารถสื่อสารและป้อนข้อมูลที่เรียกว่า prompt ให้ AI สามารถทำงานได้อย่างมีคุณภาพ

ด้วยเหตุนี้ ส่งผลให้ Prompt Engineer เป็นตำแหน่งงานที่ฮอตฮิต และทุกองค์กร โดยเฉพาะด้านระบบดิจิทัลต้องการพนักงานที่เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรง ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาโปรแกรมมิ่งแต่อย่างใด เพราะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก 

2. Product Owner 

Product Owner คือ ผู้ดูแลและบริหารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ ให้ทำงานได้อย่างมีคุณภาพ สามารถตอบโจทย์กับความต้องการของผู้ใช้งาน โดยผู้ที่ทำงานตำแหน่งนี้จะต้องมัทักษะการสื่อสารดีเลิศ เพราะต้องคอยประสานงานกับแผนกต่าง ๆ และต้องมีสกิลในการจับใจความจากการฟัง เพราะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นจากลูกค้า ประสานงานกับทีม UX / UI Designer , โปรแกรมเมอร์ , ฝ่ายการตลาด และทีมพัฒนาธุรกิจ เพื่อสร้างซอฟต์แวร์

แต่ตำแหน่ง Product Owner จะต้องมีความสกิลด้านความเข้าใจในเชิงเทคนิค เกี่ยวกับเทคโนโลยีเบื้องหลังผลิตภัณฑ์ (Technical Knowledge) ในตัวนั้น ๆ เป็นอย่างดี โดยไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดเอง และค่าตอบแทนของสายอาชีพ Product Owner ส่วนใหญ่จะแตะที่ 40,000 – 150,000 บาท / เดือน 

3. UX / UI Designer 

UX / UI Designer เป็นตำแหน่งที่ต้องมีทักษะการวิเคราะห์ สามารถทำความเข้าใจกับปัญหา และออกแบบซอฟต์แวร์ในประเภทต่าง ๆ ได้ เช่น รูปแบบแอปพลิเคชันในมือถือ เว็บไซต์ ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ เป็นต้น โดยไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเขียนโค้ด หรืออาจเกี่ยวเนื่องกันน้อยมาก ซึ่งเป็นอีกตำแหน่งที่หลายองค์กรต้องการทั่วโลก เนื่องจากการแข่งขันในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลสูงมากในปัจจุบัน และเป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายสูงกว่าเหล่าสายออกแบบภาพกราฟิกธรรมดา

โดยรายได้สำหรับนักศึกษาจบใหม่ในบ้านเราอาจเริ่มต้นอยู่ที่ 30,000 บาท / เดือน แต่เมื่อสะสมประสบการณ์ หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและทำงานด้านนี้มาแล้ว รายได้ก็อาจสูงไปที่ประมาณ 100,000 – 200,000 บาท / เดือน เลยทีเดียว 

4. Technical Support Specialist 

Technical Support Specialist หรือ IT Support คือ ตำแหน่งที่ต้องคอยให้ความช่วยเหลือเพื่อนพนักงานในองค์กร และลูกค้าของบริษัท ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานอุปกรณ์ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ไมว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์ ให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ เป็นตำแหน่งที่สำคัญในการพัฒนาทุกระบบธุรกิจ

ซึ่งเนื้องานของฝ่าย IT Support จะไม่ใช้การเขียนโค้ด แต่จะต้องมี Soft Skill ด้านการสื่อสาร การวิเคราะห์เพื่แก้ปัญหา ความรู้และเข้าใจด้านเทคโนโลยี และต้องมีความอดทนสูง โดยสายงาน IT Support ในประเทศไทย จะมีรายได้ต่อเดือนอยู่ที่ประมาณ 27,000 บาท และสูงสุดประมาณ 100,000 บาท / เดือน เลยทีเดียว 

5. Cybersecurity Analyst 

Cybersecurity Analyst คือ อาชีพนักวิเคราะห์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ คอยดูแลข้อมูลและระบบดิจิทัลต่าง ๆ ขององค์กร จาก Hacker และอาชญากรรมทางไซเบอร์ ที่นับวันยิ่งมีความซับซ้อนและเกิดได้บ่อยมากขึ้น Cybersecurity Analyst จึงเป็นอีกตำแหน่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก

โดยตำแหน่งนี้จะต้องคอยติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ บริหารจัดการและอัปเดตซอฟต์แวร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ รวบรวมรายงาน และให้รู้เท่าทันกับรูปแบบเล่ห์กลลวงของมิจฉาชีพ สามารถวางแผนรับมือ และมีกลยุทธ์ป้องกันจากอาชญากรรมไซเบอร์ทุกรูปแบบ เพื่อปกป้องข้อมูลสำคัญขององค์กรและป้องกันไม่ให้องค์กรเกิดความเสียหาย ทำให้รายได้ของตำแหน่ง Cybersecurity Analyst สูงตามไปด้วบ อยู่ที่ประมาณ 200,000 บาท / เดือน หรือตามประสบการณ์ 

อบ่างไรก็ตาม แม้ว่าใน 5 ตำแหน่งงานที่ได้นำมาฝากในบทความนี้ อาจไม่ต้องใช้การเขียนโค้ด แต่การมีความรู้เรื่องการเขียนโค้ด หรือสกิลความสามารถเข้าใจภาษาโปรแกรมมิ่งไว้ติดตัวบ้าง ย่อมสร้างโอกาสการเติบโตและก้าวหน้าในสายงาน IT ได้อย่างแน่นอน เพราะการมีทักษะที่สามารถเอื้อให้กับการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้หลากหลาย ย่อมเป็นที่ต้องการของทุกองค์กรและตลาดแรงงานโลกค่ะ

You May Also Like
Read More

มาทำความรู้จัก Internet of Things (IoT) คืออะไรกันแน่? 

ที่อยู่อาศัยในปัจจุบันในหลายๆรูปแบบ มีการพัฒนาสู่การเป็นบ้านอัจฉริยะ หรือที่ได้ยินกันบ่อยๆ ว่า Smart Home กันมากขึ้น ซึ่งบ้านอัจฉริยะที่ว่านี้ จะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้กับระบบต่างๆภายในบ้าน ให้บ้านเหมือนมีชีวิต ที่สามารถทำงานได้เองโดยผ่านการสั่งงานจากเจ้าของบ้าน ซึ่งอาจเพียงใช้นิ้วสัมผัส หรือเพียงแค่เอ่ยคำสั่งเป็นคำพูดเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นระบบไฟฟ้า ระบบพลังงาน หรือระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งการควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ…
Read More