ในประเทศไทยมีบริษัททำประกัน (Insurance Company) หลายแบรนด์ด้วยกัน และมีรูปแบบประกันหลากหลายประเภทให้เลือกซื้อเพื่อคุ้มครองในส่วนตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นประกันภัยส่วนบุคคล หรือประกันภัยทรัพย์สิน
ประเภทประกันภัยมีอะไรบ้าง
ประกันภัยตามประมวลกฏหมายเพ่งและพาณิชย์ ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
1. ประกันชีวิต (Life Insurance) อยู่ภายใต้กำกับและดูแลของ พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535
2. ประกันวินาศภัย (Non-Life Insurance) อยู่ภายใต้กำกับและดูแลของ พ.ร.บ. ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535
แต่บทความนี้เราจะกล่าวถึงประกันภัยส่วนบุคคล หรือ Insurance of the person เป็นการทำประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคล ซึ่งมีประกันภัย 3 รูปแบบด้วยกัน คือ ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และ ประกันอุบัติเหตุ
สำหรับคนที่ไม่เคยทำประกันภัยใด ๆ มาก่อนเลย ต้องการจะทำประกันสุขภาพผู้สูงอายุ แต่ไม่แน่ใจว่าทำประกันผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปได้ไหม หรือทำประกันชีวิตให้พ่อแม่แบบไหนดี ประกันชีวิตผู้สูงอายุคุ้มครองอะไรบ้าง และคุ้มค่าไหมที่จะลงทุนกับการทำประกันชีวิต
ก่อนอื่นทำความเข้าใจกับประกันผู้สูงอายุคืออะไร คุ้มครองแบบไหน และต้องทำอย่างไรบ้าง
ประกันผู้สูงอายุ คือ ประกันชีวิตที่คุ้มครองผู้มีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป โดยช่วงอายุขึ้นอยู่กับโปรดักส์ของแต่ละบริษัทประกัน มีตั้งแต่ ประกันสุขภาพสูงวัย อายุ 50 ปีขึ้นไป ประกันชีวิตผู้สูงวัยอายุ 70 ปีขึ้นไป หรือมากกว่านั้น เช่น ประกันผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไป ธกส เป็นต้น และแต่ละแบรนด์จะมีเงื่อนไขในการทำประกันแตกต่างกัน มีทั้งแบบประกันสุขภาพผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว ,ประกันชีวิตที่ไม่ต้องตรวจสุขภาพและไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพใด ๆ แต่ประกันชีวิตผู้สูงอายุจะมีหลักในการคุ้มครองด้วยการจ่ายเงินชดเชย เมื่อผู้ทำประกันเสียชีวิต หรือได้เงินคืนเมื่อครบกำหนดตามข้อตกลง โดยมีดอกเบี้ยเพิ่มสมทบมากับเงินต้น
ประกันชีวิตผู้สูงอายุถูกออกแบบให้ความคุ้มครองแก่ผู้สูงวัยโดยเฉพาะ เนื่องจากเงื่อนไขของประกันชีวิตทั่วไปค่อนข้างจำกัดต่อสภาวะด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ และความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าผู้ที่มีอายุน้อย ดังนั้น ประกันสุขภาพผู้สูงอายุจึงต้องครอบคลุมในส่วนค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจากทั้ง 2 กรณีดังกล่าว
แต่ในขณะเดียว ประกันชีวิตผู้สูงอายุจะมีเงื่อนไขของโรคร้ายแรงที่ไม่คุ้มครองเช่นกัน โดยแต่ละบริษัทอาจมีข้อยกเว้น หรือรายละเอียดเงื่อนไขต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่จะมีโรคร้ายแรงที่ประกันผู้สูงอายุไม่คุ้มครอง คือ โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคมะเร็งลำไส้ โรคตับแข็ง โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคไตวาย โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคดีซ่าน และอีกกรณีหนึ่งที่ผู้ทำประกันชีวิตจะไม่ได้รับความคุ้มครอง คือ ผู้ทำประกันฆ่าตัวตาย
ผลประโยชน์ที่ผู้เอาประกันชีวิตผู้สูงอายุ
ผลประโยชน์ที่ผู้ทำประกันชีวิตผู้สูงอายุจะได้รับ มักจะมีเงื่อนไขที่แบ่งออกเป็นตามระยะที่กำหนด และจะได้รับเงินชดเชยที่แตกต่างกันออกไป ตามที่ระบุไว้ในสัญญาของโปรดักส์นั้น ๆ เช่น หากผู้เอาประกันเสียชีวิตในช่วง 2 ปีแรกของการทำประกันด้วยการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ จะได้รับเงินชดเชยเท่ากับเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาก่อนแล้ว และ เงินอีก 2% จากเบี้ยประกัน แต่ถ้าหากเสียชีวิตในปีที่ 3 หลังจากเอาประกัน จะได้รับเงินชดเชย 100% ของวงเงินเอาประกันภัยในกรมธรรม์ หรือในกรณีที่มีชีวิตจนครบกำหนดสัญญาจะได้รับเงินคืน 100% ของวงเงินเอาประกันภัยเช่นกัน เป็นต้น
หมายเหตุ : ผู้ที่จะทำประกัน ควรศึกษาข้อมูลรายละเอียด และเงื่อนไขต่าง ๆ ของกรมธรรม์ให้ดีก่อนตัดสินใจ เพราะในส่วนของเงินชดเชยที่จะได้รับนั้นจะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะและสาเหตุของการเสียชีวิต รวมไปถึงการเกิดโรคและอุบัติเหตุต่าง ๆ ซึงคนส่วนใหญ่มักจะละเลยหรือข้ามในส่วนนี้ไป ทำให้เกิดความเข้าใจผิด และสียผลประโยชน์มานักต่อนัก หรือกิดข้อขัดแย้งจนต้องเป็นคดีฟ้องร้องมาแล้วหลายราย
อย่างไรก็ตาม การทำประกันชีวิตผู้สูงอายุนับว่ามีประโยชน์ แต่ต้องศึกษาข้อมูลและเลือกเงื่อนไขต่าง ๆ ของกรมธรรม์ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของผู้ทำประกันจะดีที่สุด