เช็คด่วน เรามีอาการโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้หรือไม่

โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ หรือ โรคภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นโรคที่พบได้บ่อย และมีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากปัจจัยก่อให้เกิดโรคมีได้หลายสาเหตุ ทั้งจากสิ่งกระทบจากภายนอกและพันธุกรรม 

โรคผิวหนังที่พบได้บ่อย มี 6 กลุ่มใหญ่ด้วยกัน ได้แก่ 

  1. โรคติดเชื้อต่าง ๆ เช่น โรคติดเชื้อไวรัส เชื้อรา แบคทีเรีย และ โรคจากปรสิต 
  2. โรคผื่นแดง (Erythemas) ลมพิษ (Urticaria) และ ผื่นแพ้ยา (Drug eruptions) 
  3. โรคภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อตัวเอง เช่น โรค SLE โรคพุพองกลุ่ม Bullous pemphigoid 
  4. โรคสะเก็ด หรือผื่นแดงลอกขุย (Papulosquamous diseases) เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคผื่นขุยกุหลาบ 
  5. โรคมะเร็งผิวหนัง (Skin malignancy) 
  6. โรคผิวหนังอักเสบเอกซิมา โดยจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม 
  • Endogenous eczema คือโรคเอกซิมาที่เกิดจากปัจจัยภายใน 
  • Exogenous eczema คือ โรคเอกซิมาที่เกิดจากปัจจัยภายนอก

โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ หรือ ภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic eczema) คือ โรคผิวหนังในกลุ่มที่ 2 ซึ่งมีปัจจัยภายในเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดอาการโรคผิวหนังมากกว่าปัจจัยภายนอก 

โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้

โดยความผิดปกติภายในมักจะมาจากพันธุกรรมที่ถ่ายทอดความผิดปกติมาไม่เหมือนกัน  ทำให้ลักษณะและการออกอาการของผู้ป่วยแต่ละรายต่างกันไป อาจเกิดอาการเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือมีอาการตอนเด็ก ๆ แล้วค่อย ๆ หายไปเมื่อโตขึ้น หรือบางรายอาจไม่เคยมีอาการมาก่อน แล้วเพิ่งมาเป็นตอนอายุมากขึ้น 

อาการโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้เป็นอย่างไร 

  1. มีอาการคันผิวหนังได้ง่าย และมักจะเป็นมากในเวลากลางคืน 
  2. มีผื่นแดงผิวหนังได้ง่าย 
  3. ผิวหนังมีน้ำมันในชั้นหนังกำพร้าน้อยกว่าคนทั่วไป 
  4. มักเป็นขุยลอกตามผิวหนัง 
  5. มีผื่นแดงตามคันข้อพับ เช่น ข้อพับแขน ข้อพับขา ขาหนีบ รักแร้ ร่องก้น คอ
  6. มีผื่นหรือตุ่มคันตามแขน ขา 2 ข้าง หรืออาจเป็นข้างเดียว 
  7. มีดวงหรือวงขาวบริเวณแก้ม แขน ขา หรือลำตัว ซึ่งอาจเป็นวงเดียวหรือหลายวง 
  8. มีตุ่มนูนบริเวณรูขุมขนบริเวณแขน ขา 
  9. ริมฝีปากแห้ง ลอกเป็นขุยบ่อย 
  10. มีผื่นแดงลอกเป็นสะเก็ดตาม ฝ่ามือ ฝ่าเท้า นิ้วมือ นิ้วเท้า 
  11. มีผื่นแดง หรือผื่นสีน้ำตาลตามบริเวณ ต้นคอ ศอก เข่า

นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีน้ำมูกไหล ไอ จาม เป็น ๆ หาย ๆ หรืออาจมีอาการหอบหืดร่วมด้วย  ซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้ จะส่งผลต่อระบบจิตใจผู้ป่วย โดยเฉพาะอาการคัน ที่อาจทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ หงุดหงิด และอาจมีอาการน้ำเหลืองเสียจนทำให้คันทั่วตัว 

การวินิจฉัยโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ 

การวินิจฉัยโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ 

แพทย์ผิวหนังจะทำการตรวสอบจากอาการภายนอก ด้วยการตรวจร่างกาย ทดสอบการแพ้ทางผิวหนัง ตรวจร่างกาย ตัดชิ้นเนื้อตรวจ ยังต้องอาศัยการซักถามประวัติสมาชิกในครอบครัว ซึ่งมักจะทำให้พบข้อมูลว่า มีพ่อแม่ ปู่ ยา ตา ยาย หรือ น้า อา มีอาการโรคภูมิแพ้ชนิดใดชนิดหนึ่งอยู่ด้วย 

การรักษาโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา ซึ่งอาจเป็นเดือน หรือเป็นปี ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย 

การรักษาโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ด้วยตนเอง 

การดูแลรักษาโรคผิวหนังอักเสบเบื้องต้นด้วยตนเอง ทำได้โดยการใช้สารความชุ่มชื้นให้กับผิวเป็นประจำ เพื่อไม่ให้ผิวแห้งเกินไป หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น  และให้ผิวสัมผัสน้ำน้อยที่สุด นอกจากนี้ควรลดการระคายเคืองจากการสวมใส่เสื้อผ้าเนื้อหยาบ หรือผ้ารัดรูปเกินไป แต่ควรสวมใส่เสื้อผ้าเนื้อนุ่มสบาย รวมไปถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกับปัจจัยก่อให้เกิดโรค เพื่อให้โรคสงบหรือหายได้ในระยะยาว เช่น การออกกำลังกาย อาหาร การพักผ่อนให้เพียงพอ การดื่มน้ำ

ในขณะที่การรักษาจากทางการแพทย์ จะมีการประเมินความรุนแรงของโรค และจ่าย ยา Anti-histamine หรือ ยาแก้คัน โดยจะต้องทานยานี้ติดต่อกันจนไม่มีอาการคันติดต่อกัน 7 วัน จึงจะหยุดยานี้ได้ แต่ถ้าใครยังคงมีอาการคัน ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบ หรือใช้ครีมเพื่่มความชุ่มชื้นให้กับผิว จะช่วยลดอาการคันลงได้ 

กรณีผิวหนังอักเสบ เป็นรอยแดง เป็นขุย หรืแห้งลอก ให้ใช้ครีมสเตียรอยด์ระดับกลาง เพื่อช่วยบรรเทาอาการ  แต่ถ้ากรณีผิวหนังอักเสบมาก รุนแรงจนมีน้ำเหลือง จำเป็นต้องใช้ยาสเตียรอยด์ และน้ำเกลือเข้มข้น 0.9% และควรเช็ดน้ำเหลือง อย่าปล่อยให้น้ำเหลืองไหลเยิ้มบนผิว เพราจะยิ่งทำให้คัน และมีตุ่มแดงกระจายมากขึ้น

You May Also Like
Read More

ยาภูมิแพ้กลุ่มที่ทำให้ง่วงและกลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงใช้แก้แพ้ได้เหมือนกันไหม

ปัจจุบันนี้มีคนเป็นภูมิแพ้กันมากขึ้นและใช้ “ยาภูมิแพ้” หรือ “ยาแก้แพ้” กันมากขึ้น ใช้กันตั้งแต่ การรักษาอาการแพ้อากาศ ภูมิแพ้หลอดลม ภูมิแพ้จมูก มีอาการผื่น คันผิวหนัง มีอาการวิงเวียน เมารถ ฯลฯ ใช้กันในวงกว้าง และหาซื้อยาแก้แพ้ได้ง่าย จนแทบจะเป็นยาสามัญประจำบ้าน แม้จะยังไม่ได้ถูกจัดให้เป็นทางการก็ตาม …
Read More
Read More

วิธีเลือกอาหารสุนัขให้เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยของน้องหมา 

สำหรับใครที่เพิ่งจะหัดเลี้ยงลูกสุนัข หรือเพิ่งจะได้สมาชิกใหม่เข้าบ้านเป็นน้องหมา อาจมีสับสนกันบ้างล่ะว่าจะให้อาหารลูกสุนัขแรกเกิดแบบไหน อาหารลูกสุนัขพันธุ์เล็กกินแบบไหนได้บ้าง หรือหมาแก่กินอาหารลูกสุนัขได้ไหม เพราะอาหารสุนัขที่มีจำหน่ายทั่วไปเดี๋ยวนี้มีหลากหลายจนน่าปวดหัวอยู่เหมือนกันนะ ถ้าใครที่ไม่เคยเลี้ยงน้องหมามาก่อน ไม่รู้จะให้กินอาหารสุนัขยี่ห้อไหนดี เพราะมีหลายแบรนด์แถมหลายรสหลายสูตร  ไม่ต้องปวดหัวอีกต่อไป เพราะเรามีวิธีเลือกอาหารสุนัขให้เหมาะในแต่ละวัยของน้องหมามาฝาก ให้ทาสหมามือใหม่กลายเป็นเจ้านายมือโปรในทันใด  อาหารลูกสุนัขแรกเกิด – 1 เดือน  ลูกสุนัขวัยแรกเกิดจะต้องกินแต่นมแม่ หรือนมสูตรเฉพาะเท่านั้น…
Read More
Read More

ท้องเสีย กินเกลือแร่แบบไหน และเกลือแร่ ORS และ ORT ต่างกันอย่างไร

ท้องเสีย ทำไมต้องดื่มเกลือแร่สำหรับคนท้องเสีย ทำไมต้องเลือก เพราะขนาดในร้านสะดวกซื้อชื่อดังที่มีสาขาแทบทุกซอยในเมืองไทยใช่ว่าจะมีขาย ขนาดเดินหาหลายสาขาแล้วก็เจอแต่เกลือแร่สำหรับนักกีฬา แล้วถ้าบริเวณบ้านไม่มีร้านขายยาใกล้ ๆ ล่ะ จะหาซื้อเกลือแร่แก้ท้องเสียได้ที่ไหน เชื่อว่าปัญนี้หลายคนเคยเจอ แล้วถ้าเกิดอาการท้องเสียแต่ไม่มีเกลือแร่จะทำเองได้ไหม  ท้องเสีย ทำไมต้องดื่มเกลือแร่  เกลือแร่สำหรับท้องเสีย ORS (Oral Rehydration Salt)…
Read More
Read More

ทำไมดื่มน้ำอัดลมจึงทำให้ฟันผุ และเกิดโรคกระดูกพรุน

จากเรื่องอุทาหรณ์ของหนุ่มชาวจีนในเมืองอู่ฮั่นรายหนึ่ง ซึ่งมีอายุเพียง 23 ปี มีปัญหาเรื่องการปวดฟันมาก แถมยังมีฟันผุและหักแทบทั้งปาก ทำให้เขาไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างที่ควรจะเป็น และหลังจากทีเข้าพบหมอฟัน เขาได้ถูกสอบถามถึงพฤติกรรมอาหารการกิน และกิจวัตรประจำวัน ทำให้หมอฟันต้องตกใจและอึ้งเมื่อพบว่าเขาแทบจะไม่ดื่มน้ำเปล่าเลย แต่กลับดื่มน้ำอัดลมวันละ 3 ขวด เพื่อดับกระหายแทน!  โดยหมอพันสามารถช่วยรักษาให้ชายคนนี้ได้เพียงแค่ทำการครอบฟันเท่านั้น แต่ฟันผุที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้จะต้องถอนออกทั้งหมด แม้ว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นในประเทศจีน…
Read More
Read More

ภาวะหัวใจล้มเหลวอันตรายไหม

มีใครเคยสงสัยบ้างไหมว่าภาวะหัวใจล้มเหลวคืออะไร อันตรายมากน้อยแค่ไหนกับผู้ป่วย วันนี้เราจะมาหาคำตอบและทำความรู้จักกับโรคอันตรายที่ทำให้เสียชีวิตโดยฉับพลันนี้กันค่ะ   หลายคนอาจเข้าใจว่า ภาวะหัวใจล้มเหลว และ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน นั้นคือโรคเดียวกัน แต่ทีจริงนั้นแตกต่างกันค่ะ โดย ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นภาวะเรื้อรัง ในขณะที่ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเป็นภาวะจากหลอดเลือดแดงอุดตันจนเป็นเหตุให้เลือดไปเลี้ยงส่วนตัวต่าง ๆ ในร่างกายไม่ทั่วถึง ซึ่งเกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที  ภาวะหัวใจล้มเหลวมักจะเกิดขึ้นในระยะสุดท้ายของโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจ…
Read More
Read More

ถ้า “ไม่อยากแก่เร็ว” เลี่ยง 5 พฤติกรรม นี้ด่วน!

ใครบ้างที่อยากจะแก่ แม้ไม่มีใครหนีความจริงนี้ไปได้ แต่ก็เชื่อว่า ไม่มีใครอยากแก่เร็ว ถูกเรียกน้ายังพอทน แต่เรียก ลุง เรียก ป้า นี่จี๊ดถึงในทรวง แต่ไม่ว่าจะยังหนุ่มยังสาว แต่หน้าตาและผิวพรรณดันล่วงหน้าไปก่อนวัย หรืออายุอานามก็สมอยู่ แต่ก็ยังอยากหน้าเด็ก ให้คนเข้าใจผิดว่าแค่ 30 ต้นๆ กำลังแจ๋ว…
Read More