นานๆ ทีจะได้หยุดพักผ่อนสบายๆ ออกไปเที่ยวทะเลใกล้ๆ แต่เจ้ากรรมนายเวรกลับคิดว่าเดี๋ยวเราจะมีความสุขมากเกินไป หลังจากใช้งานอย่างหนักกับการขับขี่บนถนนกรุงเทพฯ ทุกๆ วัน และเมื่อถึงคราวอะไรจะพังก็ต้องเป็นตอนนี้นี่แหละ ดีที่สุดแล้ว และปัญหาหลักของรถยนต์ทุกยุคทุกสมัยก็หนีไม่พ้น “รถแบตหมด”
“แบตเตอรี่รถยนต์ยี่ห้ออะไรดี” “จะเปลี่ยนทั้งทีก็ต้องเอาของดีๆ ไปเลยไม่ดีกว่าเหรอ” คำถามนี้เหล่านี้จะผุดขึ้นมาเองอัตโนมัติ อาจเพราะยี่ห้อแบตเตอรี่ที่ใช้อยู่มักจะเกเร หรืออยากจะลองยี่ห้อแบตเตอรี่อื่นดูบ้าง เผื่อเจอที่ถูกใจกว่า หรือเพิ่งเป็นเจ้าของรถคันใหม่ แล้วยังไม่เคยเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ และตอนนี้ก็ถึงเวลา ที่ต้องเปลี่ยนแบตใหม่ให้รถคู่ใจแล้ว
เมื่อไปที่ร้านจำหน่ายแบตเตอรี่รถ คำถามสุดฮิตส่วนใหญ่ คือ แบตเตอรี่รถยนต์ยี่ห้อไหนดีที่สุด? , แบตเตอรี่รถกระบะยี่ห้อไหนดี? หรือขอดูแบตเตอรี่ไม่แพง ฯลฯ ซึ่งนั้นก็ไม่ผิด เพราะใคร ๆ ก็ต้องการสิ่งที่ดีที่สุด แม้แต่การเลือกซื้อแบตเตอรี่รถยนต์ แต่…ต่อให้แบตเตอรี่รถยนต์ยี่ห้อดัง หรือแบตราคาแพง แต่ถ้าไม่เหมาะกับรถของคุณ ขนาดแบตไม่พอดี หรือ กำลังแบตรถไม่ตรงกับรถ สุดท้าย ก็ใช้ไม่ได้ และต้องนำไปเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่อยู่ดี ทำให้เสียเวลา เสียค่าเดินทางเพิ่มโดยไม่จำเป็น และอาจต้องเสียเงินเพิ่ม สำหรับค่าส่วนต่าง ตามข้อจำกัดของแต่ละร้านที่กำหนด ฯลฯ
ดังนั้น สอบถามหรือขอคำแนะนำว่า แบตเตอรี่ยี่ห้อไหนเหมาะกับรถของคุณที่สุดจะดีกว่า โดยแจ้งยี่ห้อรถ รุ่นรถที่ใช้ และจำนวนแอมป์ของแบตเตอรี่ที่ติดมากับรถจากโรงงาน และลักษณะการใช้รถของคุณ เช่น ใช้รถประจำทุกวัน ขับรถทางไกล ใช้รถสัปดาห์ละครั้ง รวมไปถึงพฤติกรรมการดูแลรถ ตรวจเช็คแบตเตอรี่ และสภาพรถบ่อยค่ไหน เพื่อให้ได้แบตที่เหมาะกับรถของคุณมากที่สุด และนั่นจึงจะเป็น แบตเตอรี่ที่ดีที่สุด นั่นเอง
ก่อนที่จะทำการเลือกแบตเตอรี่รถยนต์ จะต้องรู้ข้อมูลพื้นฐานเรื่องแบตเตอรี่กันก่อนว่า แบตเตอรี่รถยนต์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง และรถของเราเหมาะกับประเภทของแบตเตอรี่ชนิดใดที่สุด
ปัจจุบัน แบตเตอรี่รถยนต์แบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ด้วยๆกัน ได้แก่
- แบตเตอรี่แบบน้ำ หรือ แบบเติมน้ำกลั่น ( Conventional Battery )
แบตเตอรี่แบบน้ำ แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด มีโครงสร้างเป็นโลหะผสมตะกั่วพลวง ทั้งแผ่นธาตุบวก และ แผ่นธาตุลบ ทนทานต่อการปะจุไฟเกิน และการคายประจุ มีอายุที่ใช้งานค่อนข้างนาน ราคาถูก เหมาะกับรถใช้งานทั่วไป หรือรถที่มีการขับเป็นประจำ โดยแบตเตอรี่สามารถทนอุณหภูมิได้สูง แต่ต้องคอยหมั่นดูแลน้ำกลั่นบ่อย ๆ อย่าให้ระดับน้ำกลั่นต่ำกว่าเส้นบอกระดับเส้นล่าง (Lower Level) กรณีรถที่ใช้งานปกติ ควรดูแลน้ำกลั่นทุก ๆ 1 เดือน หรือเมื่อวิ่งทุก ๆ 2,000 – 3,000 กม.ส่วนรถที่ใช้งานหนักประจำ เช่น รถรับจ้าง ควรตรวจสอบ และหมั่นเติมน้ำกลั่น ทุก ๆ 2 สัปดาห์ เนื่องจากการใช้รถ และสภาพอากาศภายในห้องเครื่อง มีผลต่อระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ จึงต้องคอยตรวจสอบ และหมั่นดูแลน้ำกลั่นอยู่เสมอ เพื่อให้มีอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ได้ยาวนาน
- แบตเตอรี่แบบกึ่งแห้ง ( Maintenance Free หรือ MF )
ผู้ใช้รถส่วนใหญ่ เริ่มนิยมใช้แบตเตอรี่กึ่งแห้ง กันมากในขณะนี้ เพราะมีกำลังไฟสูง กว่าแบตเตอรี่น้ำ และแบตเตอรี่ไฮบริด ไม่ต้องดูแลมาก และแทบไม่ต้องเติมน้ำกลั่นเลย หากมีการใช้งานรถน้อย แต่แบตเตอรี่ชนิดนี้ ก็ยังมีรูให้สามารถเติมน้ำกลั่นได้ เพราะยังคอยต้องดูแลอยู่เสมอ และต้องคอยเช็ค ทุก ๆ 10,000 – 12,000 กม. เนื่องจากสภาพอากาศร้อนในประเทศไทย อาจส่งผลให้ระดับน้ำกลั่นลดลง เพื่อยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ จึงยังควรต้องดูแลน้ำกลั่น เพียงแต่อาจไม่บ่อยเท่าแบตเตอรี่แบบน้ำ เพราะน้ำกรดภายในแบตเตอรี่กึ่งแห้ง มีความเข้มข้นกว่าน้ำกรดในแบตเตอรี่ชนิดน้ำ จึงระเหยได้ช้ากว่า
- แบตเตอรี่แบบแห้ง ( Sealed Maintenance Free หรือ SMF )
แบตเตอรี่แห้ง ที่นิยมใช้กันอยู่ตอนนี้ จะเป็นแบตเตอรี่แห้งแบบตะกั่ว-กรด เป็นแบตเตอรี่ราคาถูกกว่าแบตชนิดอื่น โดยด้านบนของแบตเตอรี่ จะมีการซีลฝาปิดผนึกไว้เป็นอย่างดี มีเพียงแค่ตาแมว สำหรับใช้ตรวจเช็คระดับน้ำกรด และระดับไฟ ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับ แบตเตอรี่กึ่งแห้ง ซึ่งมีโครงสร้างของแผ่นธาตุ คล้ายกับแบตเตอรี่กึ่งแห้ง แต่ไม่ต้องดูแลน้ำกลั่นตลอดอายุการใช้งาน เพราะแบตเตอรี่ชนิดนี้ ถูกออกแบบและผลิต ให้มีระบบหมุนเวียนน้ำกลั่นภายในตัว ทำให้มีการสูญเสียน้ำน้อยมาก หรือแทบไม่มีการสูญเสียน้ำเลย ตลอดอายุการใช้งาน
- แบตเตอรี่แบบไฮบริด (HYBRID)
แบตเตอรี่ไฮบริด เป็นลูกผสมระหว่าง แบตเตอรี่น้ำ และ แบตเตอรี่กึ่งแห้ง โดยนำข้อดีของแบตเตอรี่ทั้ง 2 ชนิดมารวมกัน จนเป็นแบตเตอรี่ไฮบริด มีโครงเป็นแผ่นธาตุบวกผสมตะกั่ว กับพลวงโครงแผ่นธาตุลบผสมตะกั่วกับแคลเซี่ยม การระเหยของน้ำกลั่นจึงน้อยกว่าแบตเตอรี่น้ำ และให้กำลังไฟสูง การระเหยของน้ำกลั่น จะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้รถ และสภาพอากาศภายในห้องเครื่อง ดังนั้น จึงควรดูแลน้ำกลั่น ทุก ๆ 3 เดือน หรือ ทุก ๆ การใช้งาน 5,000 – 6,000 กม. สำหรับรถที่ใช้งานปกติ และเหมาะมากกับรถที่ใช้งานหนัก เช่น รถบรรทุก รถโดยสาร รถรับจ้าง
วิธีเลือกซื้อแบตเตอรี่ให้เหมาะสมกับรถที่ใช้
ยี่ห้อ : แน่นอนว่า เมื่อจะซื้อแบตเตอรี่รถยี่ห้อไหนดี ที่มีกระแสไฟแรง กำลังไฟเสถียร ใช้งานทนทาน สิ่งแรกๆ ที่ส่วนใหญ่จะนึกถึง คือ ยี่ห้อที่มีชื่อเสียง หรือเป็นที่รู้จักทั่วไป เพราะย่อมเป็นสิ่งการันตี ถึงคุณภาพที่จะได้รับ เพราะบริษัทหรือผู้ผลิตแบตเตอรี่ ย่อมต้องรักษามาตรฐาน และคุณภาพของแบรนด์ตนเอง เพื่อรักษาฐานลูกค้า และยอดจำหน่ายไว้ หากผลิตสินค้าไม่มีคุณภาพ บริษัทก็จะเสียชื่อเสียง และไม่สามารถขายสินค้าได้ในที่สุด และการเลือกซื้อแบตเตอรี่ที่มียี่ห้อ เป็นการป้องกันที่จะได้สินค้าปลอม หรือแบตเตอรี่ลอกเลียนแบบ ที่อาจไม่มีคุณภาพ และเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายกับผู้ใช้ได้ตลอดเวลา ยี่ห้อในท้องตลาดทั่วไปที่เรามักจะได้ยินและรู้จักกัน เช่น G7 , Panasonic , Yuasa เป็นต้น
ปริมาณแอมป์แปร์ (Ah) : ขนาดของแอมป์ จำเป็นอย่างมาก ต่อการเลือกซื้อแบตเตอรี่ในแต่ละครั้ง เพราะจะต้องเลือกแบตเตอรี่ที่เหมาะกับประเภทรถ มีค่าแอมป์ให้เท่ากับแบตเตอรี่ลูกเดิม ที่ถูกติดตั้งมาจากโรงงานเดิม อย่าให้น้อยกว่า หรือถ้าต้องการค่าแอมป์สูงขึ้นอีกหน่อย เพราะอาจมีตกแต่งอุปกรณ์เสริมในรถ ทำให้ต้องใช้แบตเยอะขึ้น ก็อย่าให้ค่าแอมป์สูงเกินไปนัก เพราะอาจส่งผลต่อระบบการทำงานอื่น ๆ ภายในเครื่องยนต์ได้ โดยดู Jis หรือ Din ซึ่งเป็น มาตรฐานสากลที่นิยมใช้
ค่ากำลังไฟ : ก่อนที่จะทำการตัดสินใจเลือกซื้อแบตเตอรี่ จะชนิดใด หรือ ยี่ห้อใด ให้คำนึงถึงโครงสร้าง หรือส่วนผสมของตัวแบตเตอรี่ และค่า CCA (กำลังไฟ) ของแบตแต่ละลูก
- แบตเตอรี่น้ำ ค่า CCA น้อยที่สุด จะต้องหมั่นตรวจสอบ และคอยเติมน้ำกลั่น ทุก ๆ เดือน หากมีการใช้รถประจำ ใช้งานหนัก ต้องเพิ่มความถี่ ในการตรวจสอบมากขึ้น หรือดูแลทุก 15 วัน
- แบตเตอรี่แบบกึ่งแห้ง ค่า CCA สูง เพราะค่าความต้านทานต่ำ ไม่ต้องดูแลมาก ขึ้นอยู่กับลักษณะ และสภาพการใช้รถ และค่อนข้างจะมีราคาถูก
- แบตเตอรี่แห้ง ค่า CCA สูง ไม่ต้องดูแลน้ำกลั่นตลอดอายุการใช้งาน ราคาค่อนข้างสูง
- แบตเตอรี่ไฮบริด ค่า CCA มากกว่าแบตเตอรี่น้ำ สามารถเว้นช่วงการดูแลได้ ทุก ๆ 3 เดือน
สังเกตได้ว่า แบตเตอรี่แต่ละประเภท จะมีความแตกต่างกัน ที่ค่า CCA และการดูแล จึงควรเลือกแบตเตอรี่ ให้ตรงกับลักษณะรถ ที่ถูกตั้งค่ามาจากโรงงาน และดูสไตล์การใช้รถของคุณ ว่าเหมาะกับแบตเตอรี่ประเภทไหน เพราะถ้าคุณไม่มีเวลาคอยเช็คและเติมน้ำกลั่น หรือไม่ต้องการความยุ่งยาก แบตเตอรี่ชนิดน้ำก็ไม่เหมาะที่จะเป็นตัวเลือก แต่อาจเลือกเป็นแบตเตอรี่แห้งแทน
ตรงกับลักษณะการใช้งาน : หากเป็นคนที่ชอบดูแลรถอยู่แล้ว และต้องการแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้นาน แบตเตอรี่เติมน้ำกลั่นถือว่าตอบโจทย์ได้ดี แต่ถ้าคุณไม่ใช่สายแทคแคร์ ก็ควรจะเลือกแบตเตอรี่ชนิดที่ไม่ต้องคอยเติมน้ำกลั่น และมีอายุการใช้งานแบตเตอรี่ได้นาน เช่น แบตเตอรี่แห้ง เป็นต้น
แหล่งจำหน่าย : อีกข้อที่ไม่ควรมองข้ามเลย คือ เลือกซื้อแบตเตอรี่จากร้านที่น่าเชื่อถือ หรือบริษัทตัวแทน เพราะจะมีการเชื่อมโยงกับบริษัทหลักเจ้าของยี่ห้อแบตเตอรี่ หรือโรงงานผลิตโดยตรง ทำให้มีแบตเตอรี่ผลิตใหม่ ที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน เป็นสินค้ามือหนึ่ง และไม่ค้างสต็อก เพราะสามารถเทิร์น หรือส่งคืนกลับโรงงานได้ ในกรณีแบตค้างเก่าเก็บ หรือเหลืออายุการใช้งานน้อย เพราะจะต้องรักษามาตรฐานคุณภาพ และเครดิตของร้านและโรงงาน ทำให้มั่นใจว่าจะได้แบตเตอรี่สดใหม่ มีคุณภาพ ใช้งานได้นาน และยังเป็นแบตเตอรี่พร้อมใช้ เพราะจะมีการชาร์จมาให้แล้วจากโรงงาน ยิ่งไปกว่านั้นคือ ราคาที่มาตรฐาน แทบจะไม่ต่างจากกาไปซื้อที่โรงงานมากนัก ทำให้ได้แบตเตอรี่ราคาไม่แพง
วันหมดอายุ : แบตเตอรี่ที่มีอายุไม่ถึง 1 ปี นับจากวันผลิต จะมีประสิทธิภาพการทำงานสูง หากมีการดูแลที่ถูกวิธี ทำให้ใช้งานได้อย่างยาวนาน ไม่ต้องคอยชาร์จ หรือต้องซื้อเปลี่ยนบ่อย ๆ และยังไม่ต้องเสี่ยงอันตราย จากอุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้แบตเตอรี่เสื่อมคุณภาพ
สรุปว่า เลือกซื้อแบตเตอรี่รถยี่ห้อไหนดี จะต้องไม่ลืมคำนึงถึงองค์ประกอบอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อให้ได้แบตเตอรี่ที่ดีที่สุด เหมาะสมกับประเภทของรถ และตรงกับการใช้งาน จะทำให้การใช้งานแบตเตอรี่ มีศักยภาพได้สูงสุด และตอบโจทย์กับผู้ใช้รถมากที่สุด ซึ่งการเลือกซื้อแบตเตอรี่ที่มีคุณภาพ ก็เหมือนการซื้ออาหารที่มีประโยชน์ ให้กับรถของคุณ เมื่อรถได้สารอาหารที่ดี มีประโยชน์ และมีสารที่เพียงพอต่อความต้องการ รถก็ย่อมมีแรง มีกำลัง ไม่งอแง ใช้งานได้นาน ไร้ปัญหา เพราะมีอาหารดี ๆ อย่างแบตเตอรี่ที่มี HIGH QUALITY